การเมืองไทย










VS




เป็นการต่อสู้ในเส้นทางของวงจรอุบาตที่ไม่มีวันสิ้นสุด

เห้ออออ ถอนหายใจแล้วก็ถอนหายใจอีก

การเมืองไทยเมื่อไรจะได้เป็นการเมืองไทยที่สมบูรณ์เสียที

หวังว่าการเมืองไทยจะฟื้นฟูในอนาคตเมื่อรถึงรุ่นพวกเรา



ล้อการเมือง(มันก็คือความจริงนั้นแหละมั้ง)







วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551

รูปแบบการปกครองของจีน


ประเทศจีนมีการปกครองเป็นลัทธิสังคมนิยมในลักษณะของตนเอง มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างๆ ปัจจุบันมีนายหู จิ่นเทาเป็นประธานาธิบดี เลขาธิการพรรค และประธานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง และมีนายเวิน เจียเป่าเป็นนายกรัฐมนตรี

ประวัติการปฏิวัติ

การปฏิวัติครั้งแรกของจีนเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ซึ่งเป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์ชิง โดยการนำของ ดร. ชุน ยัตเซน หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง เป็นผลทำให้จีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในที่สุด

สาเหตุที่ก่อให้เกิดการโค่นล้มอำนาจครั้งนี้น่าจะมาจากความเสื่อมโทรมของสภาพสังคมจีน ผู้นำประเทศจักรพรรดิแมนจูไม่มีอำนาจกำลังพอที่จะปกครองประเทศได้ ซึ่งตลอดระยะเวลาปกครอง 268 ปี (พ.ศ. 2187 – 2455) มีแต่การแย่งชิงอำนาจในหมู่ผู้นำราชวงศ์ ด้วยเหตุนี้ราษฎรส่วนมากจึงตกอยู่ในสภาพยากจน ชาวไร่ชาวนาถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน ชาวต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ แผ่นดินจีนถูกคุกคามจากต่างชาติ โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจตะวันตก และญี่ปุ่น ซึ่งจีนทำสงครามต่อต้านการรุกรานของกองกำลังต่างชาติเป็นฝ่ายแพ้มาโดยตลอด ทำให้คณะปฏิวัติไม่พอใจระบอบการปกครองของราชวงศ์แมนจู


เพื่อความสำเร็จในการแก้ปัญหาของของประเทศชาติ ดร.ซุน ยัตเซ็น ผู้นำฯ จึงได้ประกาศอุดมการณ์ของการปฏิวัติ 3 ประการ เรียกว่า “ลัทธิไตรราษฎร์” มีหัวข้อดังนี้
ประชาธิปไตย มีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ
ชาตินิยม ต้องขับไล่อำนาจและอิทธิพลของต่างชาติออกไปจากจีน
สังคมนิยม มีการจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกร
3. การปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949
3.1 ความสำคัญ การปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949 โดยการนำของ “เหมา เจ๋อตุง” ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสาธารณรัฐประชาธิปไตย ข้าสู่ระบอบสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์
3.2 สาเหตุการปฏิวัติของจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง (ค.ศ. 1939 – 1945) สรุปได้ดังนี้
(1) ปัญหาความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจและความยากจนของประชาชน ซึ่งรัฐบาลของประธานาธิบดี เจียง ไคเช็ค ไม่สามารถแก้ปัญหาได้
(2) การเผยแพร่อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ในประเทศจีน เพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาความยากจนของราษฎร โดยให้ความสำคัญแก่ชนชั้นผู้ใช้แรงงานและเกษตรกร และเป็นศัตรูกับชนชั้นนายทุน
3.3 ความสำเร็จของการปฏิวัติของจีนปี ค.ศ. 1949 สรุปได้ดังนี้
(1) ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ “เหมา เจ๋อตุง” รัฐบาลได้ยึดที่ดินทำกินของ เอกชนมาเป็นของรัฐบาล และใช้ระบบการผลิตแบบนารวม (หรือระบบคอมมูน) ชาวนามีฐานะเป็นแรงงานของรัฐ ทำให้ชาดความกระตือรือร้นเพราะทุกคนได้รับผลตอบแทนท่ากัน ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนส่วนใหญ่มีสภาพลำบากยากจนเหมือนๆ กัน
(2) ระบอบคอมมิวนิสต์ในยุคของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” เป็นยุคที่จีนปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศให้เป็นระบบตลาดหรือทุนนิยม โดยมรับแนวทางทุนนิยมของชาติตะวันตกมากขึ้น เช่น เปิดรับการลงทุนจากต่างชาติเพื่อให้คนจีนมีงานทำ และอนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินธุรกิจการค้าได้ เป็นต้น ทั้งนี้ มีระบอบการปกครองยังคงเป็นคอมมิวนิสต์เหมือนเดิม
(2) นโยบาย “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ในสมัยของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” หมายถึง มี ประเทศจีนเพียงประเทศเดียว แต่มีระบบเศรษฐกิจและการปกครอง 2 แบบ ได้แก่
- ระบอบคอมมิวนิสต์ สำหรับจีน
- ระบอบประชาธิปไตยและทุนนิยมเสรี สำหรับฮ่องกงและมาเก๊า
3.4 ผลกระทบของการปฏิวัติจีนครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1949 คือ
(1) การปฏิวัติของ “เหมา เจ๋อตง” เป็นแบบอย่างในการปฏิวัติของกระบวนการ คอมมิวนิสต์ในประเทศกำลังพัฒนา ทั้งในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอมริกาใต้ โดยเฉพาะการใช้ยุทธศาสตร์ “ป่าล้อมเมือง” โดยเริ่มจากการปฏิวัติของเกษตรในชนบทและค่อยๆ ขยายเข้าไปสู่เมือง
(2) การปฏิรูปเศรษฐกิจตามแนวของ “เติ้ง เสี่ยวผิง” โดยมรับระบบทุนนิยมของโลกตะวันตก เป็นคัวอย่างความสำเร็จของการแยกระบบการปกครองออกจากระบบเศรษฐกิจ

การเมือง

หู จิ่นเทา ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน
เวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน
ประเทศจีนมีการปกครองเป็นลัทธิสังคมนิยมในลักษณะของตนเอง มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นผู้กำหนดนโยบายต่างๆ ปัจจุบันมีนายหู จิ่นเทาเป็นประธานาธิบดี เลขาธิการพรรค และประธานคณะกรรมาธิการทหารส่วนกลาง และมีนายเวิน เจียเป่าเป็นนายกรัฐมนตรี


การแบ่งเขตการปกครอง

เขตการปกครองของจีนนั้น ตามรัฐธรรมนูญของจีน มีอยู่ด้วยกัน 3 ระดับ ได้แก่ มณฑล อำเภอ และ ตำบล แต่ในปัจจุบันได้เพิ่มมาอีก 2 ระดับ คือ จังหวัด และ หมู่บ้าน ซึ่งถ้านำมาเรียงใหม่จะได้เป็น มณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และ หมู่บ้าน
สาธารณรัฐประชาชนจีนมีอำนาจการปกครองเหนือ 22 มณฑล (省) และรัฐบาลจีนยังถือ
ไต้หวัน/ไถวาน (台湾) เป็นมณฑลที่ 23 (มีข้อมูลเพิ่มเติมที่ ฐานะทางการเมืองของสาธารณรัฐจีน)
รัฐบาลจีนยังอ้างสิทธิเหนือเกาะต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ด้วย นอกจากมณฑลแล้วยังมีเขตปกครองตนเอง
(自治区) 5 แห่งซึ่งมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่มาก เทศบาลนคร (直辖市) 4 แห่งสำหรับเมืองที่ใหญ่ที่สุดในจีน และเขตบริหารพิเศษ (Special Administrative Regions, SARs) (特别行政区) ที่จีนเข้าไปปกครอง
โดยการแบ่งพื้นที่การปกครองเป็นดังนี้
มณฑล
อันฮุย (安徽)
ฝูเจี้ยน (福建) (ฮกเกี้ยน)
กานซู (甘肃)
กว่างตง (กวางตุ้ง)(广东)
กุ้ยโจว (贵州)
ไห่หนาน (ไหหลำ)(海南)
เหอเป่ย์ (河北)
เฮย์หลงเจียง (黑龙江)
เหอหนัน (河南)
หูเป่ย์ (湖北)
หูหนาน (湖南)
เจียงซู (江苏)
เจียงซี (江西)
จี๋หลิน (吉林)
เหลียวหนิง (辽宁)
ชิงไห่ (青海)
ส่านซี (陕西)
ซานตง (山东)
ซานซี (山西)
ซื่อชวน (เสฉวน) (四川)
หยุนหนาน (ยูนนาน) (云南)
เจ๋อเจียง (浙江)
เขตปกครองตนเอง
กว่างซีจ้วง (กวางสี) (广西壮族)
มองโกเลียใน (内蒙古)
หนิงเซี่ย หุย (宁夏回族)
ซินเจียงอุยกูร์ (新疆维吾尔族)
ทิเบต (西藏)
เทศบาลนคร
เป่ย์จิง (ปักกิ่ง) (北京)
ฉงชิ่ง (จุงกิง) (重庆)
ซ่างไห่ (เซี่ยงไฮ้) (上海)
เทียนจิน (เทียนสิน) (天津)
เขตบริหารพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ฮ่องกง/เซียงกั่ง (香港)
มาเก๊า/เอ้าเหมิน (澳門)

ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99#.E0.B8.81.E0.B8.B2.E0.B8.A3.E0.B9.80.E0.B8.A1.E0.B8.B7.E0.B8.AD.E0.B8.87


By:Ponlawat Suwankhammoon
ID:5131601420
Section:02
Blog:http://cats-society.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น: