การเมืองไทย










VS




เป็นการต่อสู้ในเส้นทางของวงจรอุบาตที่ไม่มีวันสิ้นสุด

เห้ออออ ถอนหายใจแล้วก็ถอนหายใจอีก

การเมืองไทยเมื่อไรจะได้เป็นการเมืองไทยที่สมบูรณ์เสียที

หวังว่าการเมืองไทยจะฟื้นฟูในอนาคตเมื่อรถึงรุ่นพวกเรา



ล้อการเมือง(มันก็คือความจริงนั้นแหละมั้ง)







วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2551

รูปแบบการปกครองของอิหร่าน


เมืองหลวง: เตหะราน
รัฐบาล: สาธารณรัฐอิสลาม
ผู้นำสูงสุด: อายะตุลลอห์ อาลี คาเมเนอี
ประธานาธิบดี: มาห์มูด อาห์มาดีเนจาด


ประเทศอิหร่าน (ภาษาเปอร์เซีย: Īrān, ایران) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งช่วงก่อนปี พ.ศ. 2478 ชาวตะวันตกเรียกว่า เปอร์เซีย (Persia)

อิหร่านมีพรมแดนทางทิศตะวันออกติดต่อกับปากีสถาน (909 กิโลเมตร) และอัฟกานิสถาน (936 กิโลเมตร) ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับเติร์กเมนิสถาน (1,000 กิโลเมตร) ทิศเหนือจรดทะเลแคสเปียน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับอาเซอร์ไบจาน (500 กิโลเมตร) และอาร์เมเนีย (35 กิโลเมตร) ตุรกี (500 กิโลเมตร) และอิรัก (1,458 กิโลเมตร) ส่วนทิศใต้จรดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมาน

ในปี พ.ศ. 2522 การปฏิวัตินำโดยอายะตุลลอห์ โคไมนี (Ayatollah Khomeini) ทำให้มีการก่อตั้งเป็น สาธารณรัฐอิสลามโดยโค่นล้มราชวงศ์ปาห์เลวีที่ปกครองภายใต้สาธารณรัฐอิสลามเทวาธิปไตย (theocratic Islamic republic) ทำให้ชื่อเต็มของประเทศนี้ในปัจจุบันคือ สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน (Islamic Republic of Iran, جمهوری اسلامی ایران)

อิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลาม โดยมีโครงสร้างดังนี้

○ประมุขสูงสุด (Rahbar)
ประมุขสูงสุดของอิหร่าน เป็นผู้นำสูงสุดทั้งฝ่ายศาสนาจักรและอาณาจักร

○ประธานาธิบดี (Ra'is-e Jomhoor)
เป็นตำแหน่งที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี และจะได้รับเลือกตั้งได้ไม่เกิน 2 สมัย ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหาร ถึงแม้ประธานาธิบดีจะได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนก็ตาม แต่อาจถูกถอดถอนจากตำแหน่งโดยประมุขสูงสุดได้

○รองประธานาธิบดี
มีตำแหน่งรองประธานาธิบดี 6 คน และคณะรัฐมนตรี 20 คน ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

○สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (Majlis)
ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทุก ๆ 4 ปี จำนวน 290 คน ทำหน้าที่ออกกฎหมายและควบคุมฝ่ายบริหาร

การเมืองการปกครอง

• อิหร่านมีประวัติศาสตร์การปกครองแบบกษัตริย์เป็นระยะเวลานาน กษัตริย์พระองค์สุดท้ายของอิหร่าน คือ พระเจ้ามุฮัมมัด เรซา ชาห์ ปาฮ์ลาวี (Muhammad Reza Shah Pahlavi) เหตุการณ์ความวุ่นวายภายในประเทศทำให้พระเจ้าชาห์ ปาฮ์ลาวี เสด็จฯ ไปลี้ภัยต่างประเทศ เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2522และเสด็จสวรรคตเมื่อปี 2523 ที่อียิปต์

• เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2522 อญาโตลลอฮ์ รูโฮลาห์ โคไมนี (Ayatollah Ruhollah Khomeini) ผู้นำศาสนาอิสลามนิกายชีอะต์ ได้ประกาศเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองประเทศอิหร่านเป็นสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (Islamic Republic of Iran) โดยใช้หลักการทางศาสนาอิสลาม หรือ การปกครองในรูปแบบเทวาธิปไตย (Theocratic republic) เป็นแนวทางในการปกครองประเทศ การปฏิบัติตนในสังคมรวมถึงการแต่งกายตามหลักศาสนาอิสลาม และต่อต้านอิทธิพลของโลกตะวันตก ทั้งนี้ ผู้นำสูงสุด (Supreme leader) ซึ่งถือเป็นผู้นำทั้งฝ่ายศาสนาจักรและอาณาจักร เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ

• หลังการเสียชีวิตของอยาโตลลอฮ์ รูโฮลาห์ โคไมนี ในปี 2523 อิหร่านมีการเลือกผู้นำสูงสุดคนใหม่ คือ อยาโตลลอฮ์ อะลี โฮไซนี คาไมนี (Ayatollah Ali Hoseini Khamenei) อย่างไรก็ดี การเมืองภายในอิหร่าน เริ่มมีการแข่งขันระหว่างกลุ่มการเมืองสายอนุรักษ์นิยมเคร่งศาสนา กับกลุ่มปฏิรูปหัวก้าวหน้าในรัฐสภา

• ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กลุ่มการเมืองสายปฏิรูปได้รับเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมากในสภาได้พยายามเปลี่ยนแปลงประเทศให้ทันสมัย ในปี 2547 กลุ่มอนุรักษ์นิยม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มเคร่งศาสนาอิสลาม ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในรัฐสภาเหนือฝ่ายปฏิรูป นโยบายของกลุ่มอนุรักษ์นิยมจึงทำให้อิหร่านกลับไปมีนโยบายอนุรักษ์นิยมและเคร่งศาสนามากยิ่งขึ้น โดยเห็นได้จากนโยบายของอิหร่านในการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ซึ่งได้รับการคัดค้านจากหลายประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา

• ปัจจุบัน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ได้แก่ นายมาห์มูด อามาดิเนจาด (Mahmoud Ahmadinejad) ซึ่งมีแนวคิดอนุรักษ์นิยม โดยนายอามาดิเนจาด ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอิหร่าน เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2548 ด้วยคะแนนเสียงสนับสนุนร้อยละ 62

ประเทศอิหร่านแบ่งออกเป็น 30 จังหวัด (provinces - ostanha) แต่ละจังหวัดปกครองโดยผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งมาจากการแต่งตั้ง (استاندار: ostāndār)
1.เตหะราน 2.กุม 3.มาร์กาซี 4.กาซวีน 5.กีลาน 6.อาร์ดะบีล 7.ซานจาน 8.อาซาร์ไบจานชัรกี 9.อาซาร์ไบจานฆอรบี 10.กุรดิสตาน 11.ฮามาดาน 12.กิรมานชาห์ 13.อีลาม 14.ลอริสถาน 15.คูเซสถาน 16. ชาฮาร์มาฮาลและบัคเตียรี 17.โคห์กีลูเยห์และบูเยอร์อาห์มัด 18.บูเชร์ 19.ฟาร์ส 20.โฮร์โมซกอน 21.ซิสถานและบาลูจิสถาน 22.กิรมาน 23.ยาซด์ 24.เอสฟาฮาน 25.เซมนาน 26.มาซันดะรอน 27.โกเลสถาน 28.โคราซานชีมาลี 29.โคราซานราซาวี 30.โคราซานจานูบี

ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99

By:Ponlawat Suwankhammoon
ID:5131601420
Section:02
Blog:http://cats-society.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น: